รู้หรือไม่? ร้านค้าที่ไม่ได้รับอนุญาต (Grey Market Sellers) สามารถสร้างความเสียหายให้กับแบรนด์อีคอมเมิร์ซของคุณอย่างไร

บทความ

ในยุคที่ธุรกิจออนไลน์เฟื่องฟู แบรนด์ต่าง ๆ ต่างต้องเผชิญกับ “ร้านค้าที่ไม่ได้รับอนุญาต” ที่ลักลอบขายสินค้าของแบรนด์ ผ่านช่องทางออนไลน์ที่ไม่เป็นทางการ ร้านค้าเหล่านี้สร้างปัญหาใหญ่ให้กับแบรนด์ ทั้งทำลายภาพลักษณ์และชื่อเสียง ส่งผลต่อยอดขายและรายได้ บทความนี้จะพาทุกท่านไปรู้จักกับ “ร้านค้าที่ไม่ได้รับอนุญาต” บนโลกออนไลน์ และผลกระทบร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นกับแบรนด์

ผลกระทบต่อแบรนด์จากร้านค้าที่ไม่ได้รับอนุญาต อาจก่อนให้เกิดการสูญเสียชื่อเสียง ทำลายความภักดีของลูกค้า และความเสี่ยงต่อคดีความ

ศึกษาผลกระทบทั้งหมดจากร้านค้าที่ไม่ได้รับอนุญาต และเตรียมพร้อมรับมือกับอุปสรรคเหล่านี้ วางกลยุทธ์และแนวทางป้องกัน ปกป้องชื่อเสียง รักษาความภักดีของลูกค้า และนำพาแบรนด์ของคุณไปสู่ความสำเร็จ

ทำความเข้าใจความเสี่ยงของร้านค้าที่ไม่ได้รับอนุญาตที่มีต่อแบรนด์

ร้านค้าที่ไม่ได้รับอนุญาตมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับการเติบโตแบบก้าวกระโดดของการช้อปปิ้งออนไลน์ ดยรูปแบบการขายผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ดึงดูดร้านค้าที่ไม่ได้รับอนุญาตเหล่านี้ ด้วยต้นทุนการลงทุนที่ต่ำกว่าการจัดตั้งร้านค้าแบบดั้งเดิม

ร้านค้าเหล่านี้ไม่ได้รับอนุญาต พวกเขาฉวยโอกาสทุกทางที่จะแสวงหาผลกำไรจากแบรนด์ดัง โดยไม่คำนึงถึงชื่อเสียง และผลกำไรของแบรนด์  แบรนด์จึงจำเป็นต้องเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับร้านค้าที่ไม่ได้รับอนุญาตเหล่านี้ เพื่อต่อสู้กับผลกระทบเชิงลบอย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งรวมถึง:

  • การทำลายภาพลักษณ์ของแบรนด์

หนึ่งในความเสี่ยงสำคัญของร้านค้าที่ไม่ได้รับอนุญาต คือการทำให้ชื่อเสียงของแบรนด์เสื่อมลง เมื่อผู้ขายเหล่านี้นำสินค้าของแบรนด์มาวางขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ความพิเศษและคุณค่าของแบรนด์ก็ลดลง ลูกค้าเริ่มไม่แน่ใจในความเป็นสินค้าของแท้และคุณภาพของสินค้าที่ซื้อ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในแบรนด์ลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อ ความภักดีของลูกค้าและภาพลักษณ์โดยรวมของแบรนด์ในระยะยาว

นอกจากนี้ผู้ขายที่ไม่ได้รับอนุญาตเหล่านี้อาจไม่ให้ความสำคัญกับการบริการลูกค้าหรือคุณภาพสินค้าเท่ากับร้านค้าที่ได้รับอนุญาต ซึ่งต้องปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางของแบรนด์ สิ่งนี้อาจนำไปสู่ประสบการณ์ที่ไม่ดีสำหรับลูกค้า

  • การแทรกแซงกลยุทธ์การกำหนดราคา

ความเสี่ยงอีกประการหนึ่งคือ “การถูกแทรกแซงกลยุทธ์การกำหนดราคาของแบรนด์” โดยที่ผู้ค้าปลีกที่ได้รับอนุญาตอาจกำหนดราคาสินค้าให้สอดคล้องกับภาพลักษณ์และความต้องการของตลาด แต่ผู้ขายที่ไม่ได้รับการอนุญาตในตลาดสีเทาอาจนำไปสู่การกำหนดราคาที่ไม่สอดคล้องกันและการตัดราคาต่ำกว่า สิ่งนี้ไม่เพียงทำลายกลยุทธ์ในการกำหนดราคาของแบรนด์เท่านั้น แต่ยังสร้างความไม่เป็นธรรมต่อผู้ขายที่ได้รับอนุญาตอีกด้วย ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นคือ แบรนด์สูญเสียรายได้ และประสบปัญหาในการรักษาผลกำไร

  • ผลกระทบต่อช่องทางการจัดจำหน่าย

ความเสี่ยงจากตลาดมืด ไม่ได้ส่งผลแค่ชื่อเสียงและการเงินเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อช่องทางการจัดจำหน่ายของแบรนด์ด้วย ร้านค้าที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามกฎของแบรนด์อาจรู้สึกไม่พอใจ เมื่อพบว่ามีผู้ขายที่ไม่ได้รับอนุญาตขายสินค้าชนิดเดียวกันในราคาที่ถูกกว่า สิ่งนี้อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับร้านค้าปลีกคู่ค้าที่เชื่อถือได้ อาจนำไปสู่การสูญเสียช่องทางการจัดจำหน่ายได้ในที่สุด

  • การรับประกันและบริการหลังการขาย

สินค้าจากตลาดมืดอาจไม่มีสิทธิ์ได้รับการรับประกันอย่างเป็นทางการ และแบรนด์อาจไม่สามารถให้บริการหรือช่วยเหลือสินค้าที่ไม่ได้จำหน่ายผ่านช่องทางที่ได้รับอนุญาต ส่งผลให้ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าจากผู้ขายในตลาดมืด เสี่ยงต่อการไม่ได้รับความคุ้มครองตามการรับประกัน ซึ่งนำไปสู่ความไม่พึงพอใจของลูกค้าและประสบการณ์ที่ไม่ดี การรีวิว ให้คะแนน และยอดขายที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของผู้ขายที่ไม่ได้รับอนุญาต

  • ความเสี่ยงจากสินค้าเลียนแบบ

ตลาดมืดเปรียบเสมือนแหล่งเพาะพันธุ์สินค้าเลียนแบบที่ปะปนกับสินค้าจริง ส่งผลเสียต่อทั้งชื่อเสียงของแบรนด์และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สินค้าเลียนแบบมักหลีกเลี่ยงมาตรการควบคุมคุณภาพที่ผู้ผลิตถูกกฎหมายต้องปฏิบัติ ส่งผลให้ใช้วัสดุด้อยมาตรฐาน และกระบวนการผลิตที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค

ยิ่งไปกว่านั้น สินค้าเลียนแบบมักไม่มีการรับประกันและบริการหลังการขาย ผู้บริโภคจึงเสี่ยงต่อการสูญเสียเงิน และไม่มีช่องทางในการเรียกร้อง เมื่อสินค้าเสียหายหรือใช้งานไม่ได้

ารตระหนักถึงความเสี่ยงเหล่านี้ เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับแบรนด์ในการพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อต่อสู้กับปัญหาตลาดมืด แบรนด์ต้องยอมรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและดำเนินการเชิงรุก เพื่อปกป้องชื่อเสียง กลยุทธ์การกำหนดราคา และความสัมพันธ์กับร้านค้าปลีกที่ได้รับอนุญาต

ติดต่อผู้เชี่ยวชาญของเรา เพื่อเรียนรู้วิธีรับมือกับความเสี่ยงและอุปสรรคของตลาดมืด

กรณีศึกษาของแบรนด์ที่ได้รับผลกระทบจากผู้ขายที่ไม่ได้รับอนุญาต

อันตรายของตลาดมืดบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซไม่ใช่แค่ภาพลวงตา แต่เป็นภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจริง ส่งผลกระทบต่อแบรนด์อย่างรุนแรง แบรนด์ชั้นนำหลายแห่งเคยตกเป็นเหยื่อของตลาดมืด สูญเสียทั้งผลกำไรและชื่อเสียงที่สั่งสมมายาวนาน

เว็บไซต์ Modern Retail เผยสินค้าแฟชั่นชื่อดังอย่าง Shein เต็มไปด้วยสินค้าจากตลาดมืด ตัวอย่างเช่น รองเท้าผ้าใบ Hoka One One ที่วางขายบนมาร์เก็ตเพลสของ Shein พร้อมโฆษณาว่า “ของแท้ 100%” [1] แต่ทาง Hoka ปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับ Shein ยืนยันว่า Shein ไม่ใช่ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของผลิตภัณฑ์ Hoka ตัวแทนจาก Hoka กล่าวว่าสินค้า Hoka “ของแท้” สามารถรับประกันได้เฉพาะบนช่องทางจำหน่ายอย่างเป็นทางการเท่านั้น เช่น เว็บไซต์ hoka.com หรือตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต

เช่นเดียวกัน บนแพลตฟอร์มาร์เก็ตเพลสของ Shein ยังมีเสื้อผ้าจากแบรนด์ Paul Smith แฟชั่นดีไซน์เนอร์ชื่อดังชาวอังกฤษ วางจำหน่ายพร้อมคำอธิบายว่า “ของแท้ 100%” แต่ Paul Smith ปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับ Shein ชี้แจงอย่างชัดเจนว่า พวกเขาไม่ได้จัดจำหน่ายหรือขายสินค้าผ่านมาร์เก็ตเพลสของ Shein แต่อย่างใด

หนังสือพิมพ์ The Economic Times ยังรายงานอีกว่า บรรดาแบรนด์ดังอื่น ๆ เช่น Lacoste, Puma, Benetton, Canon และ Nikon [2] ต่างก็ดำเนินการเชิงรุกเพื่อรับมือกับปัญหานี้ โดยมีการดำเนินการตั้งแต่การฟ้องร้องทางกฎหมาย การเตือนลูกค้า ไปจนถึงการเจรจากับแพลตฟอร์มขายปลีกขนาดใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

นอกเหนือจากผลกระทบโดยตรงต่อยอดขายที่อาจเกิดขึ้น สินค้าเลียนแบบและสินค้ามือสองที่วางจำหน่ายบนออนไลน์ยังส่งผลกระทบอย่างมากต่อความน่าเชื่อถือของแบรนด์ (brand equity) และสร้างความคลางแคลงใจต่อความน่าเชื่อถือของทั้งวงการอีคอมเมิร์ซ

Rajesh Jain, กรรมการผู้จัดการและ CEO ของ Lacoste India, ขอย้ำถึงความกังวลนี้ “แม้ว่ายอดขายจะสูญเสียไปบ้างจากสินค้าปลอมเหล่านี้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเราคือชื่อเสียงของแบรนด์”

ตัวอย่างเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่แท้จริงของตลาดมืดต่อธุรกิจ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการดำเนินการเชิงรุก เพื่อต่อสู้กับการระบาดของตลาดมืดบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

จากบทความนี้ ปัญหาผู้ขายในตลาดมืดกำลังทวีความรุนแรงขึ้น แบรนด์ต่าง ๆ ต้องเผชิญกับความเสี่ยงนี้ บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซขนาดใหญ่ การปิดกั้นผู้ขายเหล่านี้ทั้งหมดเป็นไปได้ยาก การติดตามผู้ขายเหล่านี้จึงมีความสำคัญ ช่วยให้คุณตรวจสอบกิจกรรมของพวกเขา รวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับผลกระทบต่อแบรนด์ นโยบาย และรายได้ ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการยุติการกระทำผิดกฎหมายของพวกเขา

ต้องการค้นหาเทคนิคติดตามผู้ขายในตลาดมืดแบบมืออาชีพใช่หรือไม่? Anchanto มีคำตอบ! พบกับเคล็ดลับ คลังข้อมูลที่ครอบคลุมและคู่มือฉบับสมบูรณ์ ให้คุณติดตามผู้ขายในตลาดมืดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ติดต่อผู้เชี่ยวชาญประจำประเทศไทยของเรา

References – 1, 2

About cookies on this site

We use cookies to collect and analyse information on site performance and usage, to provide social media features and to enhance and customise content and advertisements. Learn more

Necessary cookies

Some cookies are required to provide core functionality. The website won't function properly without these cookies and they are enabled by default and cannot be disabled.

Analytical cookies

Analytical cookies help us improve our website by collecting and reporting information on its usage.

Marketing cookies

Marketing cookies are used to track visitors across websites to allow publishers to display relevant and engaging advertisements.